ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ

ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ

ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ฤดูร้อนจะร้อนมาก อากาศร้อนอบอ้าวแบบนี้ แต่เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละวันคุณต้องสูญเสียพลังงานไปกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยมากน้อยขนาดไหน ทั้งพัดลม เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ และอื่นๆ วัสดุประเภทฉนวนกันความร้อนเป็นวิถีทางหนึ่งในการลดความสูญเสียพลังงานที่ใช้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด ฉนวนกันความร้อนคือคําตอบในเรื่องนี้ เพื่อช่วยลดการสูญเสียความร้อนและรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ โดยมีคุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิด

ประเภทฉนวน กันความร้อน – ความเย็น และคุณสมบัติ

 ประเภทฉนวน คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย
1) วัสดุฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูง  ทนความชื้นได้ดี ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง
2) วัสดุฉนวนแบบโฟม เช่น โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อน / เก็็บความเย็็นได้ดี มีคุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ รองรับน้ําหนักกดทับได้ดี มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟไหม้
3) วัสดุฉนวนใยแก้ว ทํามาจากแก้วหรือเศษแก้วนํามาหลอมและเป็นเป็นเส้นใยละเอียดนํามาอัดรวม กัน คุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่เหมาะกับการใช้งานที่เปิดโล่งโดยไม่มีอะไรปกคลุม
4) วัสดุฉนวนใยหิน (Mineral Wool) เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีคุณสมบัติในการกันความร้อนและดูดซับเสียงที่ดี ทนไฟ ไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น
5) เซลลูโลส (Cellulose) เป็นวัสดุ Recycle ผสมเคมี เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด มีค่าการกันความร้อนและเสียงที่ดี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ทนต่อน้ำและความชื้น มีโอกาสหลุดล่อนได้
6) แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) เป็นผงอัดเป็นแผ่นสําเร็จ สามารถตัดต่อเหมือนแผ่นยิบซั่ม แต่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน ทาสีทับได้ ทนไฟ มีน้ำหนักมาก ไม่ทนต่อความชื้น
7) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) ทําจากแร่ไมก้า มีลักษณะเป็นเกร็ด คล้ายกระจก เป็นผงนําไปผสมกันซีเมนต์ หรือทรายจะได้คอนกรีตที่มีค่าการนําความร้อนต่ำ สามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ทนไฟ มีน้ำหนักมาก
8) เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating) เป็นสีเเซรามิคลักษณะของเหลวใช้ทาหรือพ่น ช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี ติดตั้งง่าย มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนที่ผิวอาคารโดยตรง อายุการใช้งานต่ำ เนื่องจากสภาวะอากาศ การติดตั้งอาศัยเทคนิคความชํานาญสูง
หลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value)  ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ำและความชื้น การทนต่อแมลงและเชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ  การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ  ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้