ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ฤดูร้อนจะร้อนมาก อากาศร้อนอบอ้าวแบบนี้ แต่เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละวันคุณต้องสูญเสียพลังงานไปกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยมากน้อยขนาดไหน ทั้งพัดลม เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ และอื่นๆ วัสดุประเภทฉนวนกันความร้อนเป็นวิถีทางหนึ่งในการลดความสูญเสียพลังงานที่ใช้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด ฉนวนกันความร้อนคือคําตอบในเรื่องนี้ เพื่อช่วยลดการสูญเสียความร้อนและรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ โดยมีคุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิด
ประเภทฉนวน กันความร้อน – ความเย็น และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวน | คุณสมบัติ | ข้อดี | ข้อเสีย |
1) วัสดุฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ | มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ | มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูง ทนความชื้นได้ดี ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย | ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง |
2) วัสดุฉนวนแบบโฟม | เช่น โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อน / เก็็บความเย็็นได้ดี | มีคุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ รองรับน้ําหนักกดทับได้ดี มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟไหม้ |
3) วัสดุฉนวนใยแก้ว | ทํามาจากแก้วหรือเศษแก้วนํามาหลอมและเป็นเป็นเส้นใยละเอียดนํามาอัดรวม กัน | คุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่เหมาะกับการใช้งานที่เปิดโล่งโดยไม่มีอะไรปกคลุม |
4) วัสดุฉนวนใยหิน (Mineral Wool) | เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ | มีคุณสมบัติในการกันความร้อนและดูดซับเสียงที่ดี ทนไฟ | ไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น |
5) เซลลูโลส (Cellulose) | เป็นวัสดุ Recycle ผสมเคมี เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด | มีค่าการกันความร้อนและเสียงที่ดี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม | ไม่ทนต่อน้ำและความชื้น มีโอกาสหลุดล่อนได้ |
6) แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) | เป็นผงอัดเป็นแผ่นสําเร็จ | สามารถตัดต่อเหมือนแผ่นยิบซั่ม แต่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน ทาสีทับได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก ไม่ทนต่อความชื้น |
7) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) | ทําจากแร่ไมก้า มีลักษณะเป็นเกร็ด คล้ายกระจก เป็นผงนําไปผสมกันซีเมนต์ หรือทรายจะได้คอนกรีตที่มีค่าการนําความร้อนต่ำ | สามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก |
8) เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating) | เป็นสีเเซรามิคลักษณะของเหลวใช้ทาหรือพ่น ช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี | ติดตั้งง่าย มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนที่ผิวอาคารโดยตรง | อายุการใช้งานต่ำ เนื่องจากสภาวะอากาศ การติดตั้งอาศัยเทคนิคความชํานาญสูง |
หลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value) ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ำและความชื้น การทนต่อแมลงและเชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้