ฉนวน PU Foam และ PIR Foam คืออะไร (What’s PUR and PIR?)
พียูโฟม (PU Foam)
- เฟล็กซิเบิลโฟม (Flexible Foam) ผลิตจากโพลิออกซิโพรพิลีนไดออล ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เบาะรองนั่งทั่วไป เก้าอี้นวม ที่นอน แผ่นรองใต้พรม ตัวดูดซับน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล
- ริจิดโฟม (Rigid Foam) ผลิตจากโพลิอีเทอร์ที่ได้จาก ซอร์บิทอล เมทิลกลูโคไซด์ หรือซูโครส ทำให้มีดีกรีของการ ครอสลิงสูง จึงมีความแข็งแรงสูงกว่าเฟล็กซิเบิลโฟม มีความต้านทานต่อแรงกดดันสูง จึงใช้ทำโครงสร้างของส่วนที่ต้องการน้ำหนักเบา เช่น ลำตัวเครื่องบิน และเรือ เป็นต้น สมบัติในการนำความร้อนต่ำมาก จึงมักใช้เป็นฉนวนสำหรับอาคาร รถขนส่งผลิตภัณฑ์แช่เย็น ชิ้นส่วนของรถยนต์ ตู้เย็น และกระติกน้ำแข็ง นอกจากนี้ยังใช้ทำส่วนประกอบของเรือเพื่อการลอยตัวดีขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและลอยตัวดี
คุณสมบัติของฉนวนพียูโฟม
1.ป้องกันความร้อน-เย็นได้ดี เนื่องจากมีค่าการนำความร้อน (k) ที่ต่ำกว่าวัสดุอื่น เมื่อเทียบกับความหนาแน่นที่เท่ากัน (PU Foam = 0.023 W/m.K)
2. ไม่ลามไฟ (Fire Resistant) มีการใส่สารกันลามไฟ ให้ดับไฟได้เอง ตามมาตรฐานวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในอาคาร
3. ป้องกันน้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากเป็นเซลล์ปิด ไม่อุ้มน้ำ
4. ลดเสียงดัง กั้นเสียง (Noise Inhibiting) เพราะมีโครงภายในเซลล์เป็นช่องอากาศเป็นโพรง (Air Gap) เป็นจำนวนมาก ช่วยลดการพาของเสียง
5. ไม่เป็นพิษ (Non-toxic Irritant) เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่างหรือตัวทำละลายอย่างอื่นจะมาเปลี่ยนสภาวะจากของแข็งเป็นของ เหลวได้ จึงไม่มีสาระคายเคืองหรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนใยแก้ว
6. ป้องกันมด, นก, หนู, แมลง (Vermin Resistant) ส่วนผสมของเคมีป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปทำรัง หรือทำลายฉนวน
7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light Weight & Strrength) โฟมขนาด 1 ม.x 1 ม. x 1 นิ้ว (กxยxหนา) มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม และยังรับน้ำหนักแรงกดได้ดี
8. ทนต่อกรด/ด่าง โฟม PU ไม่ละลายในกรด/ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่อง จึงสามารถป้องกันการเสียหายจากสารที่กล่าวข้างต้น
9. ความคงตัว โฟมพียูไม่มีการยุบตัว เพราะมีความหนาแน่นถึง 35-50 กก./ลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ จึงทนทาน มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด (ภายใต้การติดตั้งที่ถูกต้อง)
10. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation Control) โฟม PU จะเป็นตัวกั้นกลางแยกความร้อนและความเย็นอยู่คนละข้าง จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ
ฉนวน PIR (พีไออาร์)
คุณสมบัติของฉนวน PIR (พีไออาร์)
1. ปฏิกิริยาการเกิด PIR เกิดที่อุณหภูมิสูงกว่าปฏิกิริยาของ PUR จึงมีโครงสร้างโมเลกุลที่แข็งแรง ทำให้ PIR มีความแข็งแรงกว่าโพลียูรีเทน (จากรายงานพบว่าต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 200oC จึงจะสามารถทำลายพันธะเคมีของ PIR ได้ ในขณะที่ PUR ใช้เพียง 100-110 oC)
2. พีไออาร์ (PIR) เหมาะใช้กับที่พักอาศัย เพราะมีค่าการเกิดควันน้อยกว่าโพลียูรีเทนโฟม (PUR) โดยพีไออาร์มีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 แต่ให้ค่าการเกิดควันต่ำกว่า 50 ในขณะที่โพลียูรีเทนโฟมมีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 และค่าการเกิดควันถึง 150-350-
โพลียูรีเทนโฟม (PUR) มีความยืดหยุ่นและเป็นผงน้อยกว่าแผ่นพีไออาร์ (PIR)
3. ค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นใกล้เคียงกัน เช่น แผ่นโพลียูรีเทนหรือแผ่นโพลีไอโซ 2 ปอนด์ จะมีค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นประมาณ 20 psi และมีค่าความเป็นฉนวนใกล้เคียงกันที่ 6.0 ต่อนิ้วโดยเฉลี่ย