ฉนวน PU Foam และ PIR Foam คืออะไร (What’s PUR and PIR?)
พียูโฟม (PU Foam)
- เฟล็กซิเบิลโฟม (Flexible Foam) ผลิตจากโพลิออกซิโพรพิลีนไดออล ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เบาะรองนั่งทั่วไป เก้าอี้นวม ที่นอน แผ่นรองใต้พรม ตัวดูดซับน้ำมันรั่วไหลในทะเล
- ริจิดโฟม (Rigid Foam) ผลิตจากโพลิอีเทอร์ที่ได้จาก ซอร์บิทอลเมทิลกลูโคไซด์ หรือซูโครส ทำให้มีดีกรีของการครอสลิงสูง จึงมีความแข็งแรงสูงกว่าเฟล็กซิเบิลโฟม มีความต้านทานต่อแรงกดดันสูง จึงใช้ทำโครงสร้างของส่วนที่ต้องการน้ำหนักเบา เช่น ลำตัวเครื่องบิน และเรือ เป็นต้น สมบัติในการนำความร้อนต่ำมาก จึงมักใช้เป็นฉนวนสำหรับอาคาร รถขนส่งผลิตภัณฑ์แช่เย็น ชิ้นส่วนของรถยนต์ ตู้เย็น และกระติกน้ำแข็ง นอกจากนี้ยังใช้ทำส่วนประกอบของเรือเพื่อการลอยตัวดีขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและลอยตัวดี
ในวงการฉนวนกันความจึงมีการใช้ PU Foam ประเภท Rigid Foam อย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้ประหยัดพลังงาน เช่น อาคารสถาปนิกที่ได้รับรางวัล 1 ใน 5 อาคารประหยังพลังงานดีเด่น ปี 2552 นั้นก็มีการใช้ฉนวน PU Foam รวมกับการใช้วิธีการอื่น ด้านหลังคาคอนกรีตใช้ฉนวน PU Foam พ่นบนพื้นหลังคา สำหรับหลังคาเหล็ก ใช้ PU Foam ประเภทกันไฟลามเพื่อลดการเกิดเสียง ประตูหน้าต่าง ใช้ระบบประตูหน้าต่าง ALUMINIUM ชนิดป้องกันความร้อน และกรอบบานประตู ALUMINIUM ฉีด PU Foam ประกอบกับกระจกที่ใช้เป็นกระจกฉนวนป้องกันความร้อนและป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลตภายนอกอาคารให้มีต้นไม้ เพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากแสงแดด
คุณสมบัติของฉนวนพียูโฟม
1.ป้องกันความร้อน-เย็นได้ดี เนื่องจากมีค่าการนำความร้อน (k) ที่ต่ำกว่าวัสดุอื่น เมื่อเทียบกับความหนาแน่นที่เท่ากัน (PU Foam = 0.023 W/m.K)
2. ไม่ลามไฟ (Fire Resistant) มีการใส่สารกันลามไฟ ให้ดับไฟได้เอง ตามมาตรฐานวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในอาคาร
3. ป้องกันน้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากเป็นเซลล์ปิด ไม่อุ้มน้ำ
4. ลดเสียงดัง กั้นเสียง (Noise Inhibiting) เพราะมีโครงภายในเซลล์เป็นช่องอากาศเป็นโพรง (Air Gap) เป็นจำนวนมาก ช่วยลดการพาของเสียง
5. ไม่เป็นพิษ (Non-toxic Irritant) เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่างหรือตัวทำละลายอย่างอื่นจะมาเปลี่ยนสภาวะจากของแข็งเป็นของ เหลวได้ จึงไม่มีสาระคายเคืองหรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนใยแก้ว
6. ป้องกันมด, นก, หนู, แมลง (Vermin Resistant) ส่วนผสมของเคมีป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปทำรัง หรือทำลายฉนวน
7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light Weight & Strrength) โฟมขนาด 1 ม.x 1 ม. x 1 นิ้ว (กxยxหนา) มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม และยังรับน้ำหนักแรงกดได้ดี
8. ทนต่อกรด/ด่าง โฟม PU ไม่ละลายในกรด/ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่อง จึงสามารถป้องกันการเสียหายจากสารที่กล่าวข้างต้น
9. ความคงตัว โฟมพียูไม่มีการยุบตัว เพราะมีความหนาแน่นถึง 35-50 กก./ลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ จึงทนทาน มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด (ภายใต้การติดตั้งที่ถูกต้อง)
10. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation Control) โฟม PU จะเป็นตัวกั้นกลางแยกความร้อนและความเย็นอยู่คนละข้าง จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ
ฉนวน PIR (พีไออาร์)
คุณสมบัติพิเศษของฉนวนกันความร้อน PIR (พีไออาร์)
1. ปฏิกิริยาการเกิด PIR เกิดที่อุณหภูมิสูงกว่าปฏิกิริยาของ PUR จึงมีโครงสร้างโมเลกุลที่แข็งแรง ทำให้ PIR มีความแข็งแรงกว่าโพลียูรีเทน (จากรายงานพบว่าต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 200 oC จึงจะสามารถทำลายพันธะเคมีของ PIR ได้ ในขณะที่ PUR ใช้เพียง 100-110 oC)
2. พีไออาร์ (PIR) เหมาะใช้กับที่พักอาศัย เพราะมีค่าการเกิดควันน้อยกว่าโพลียูรีเทนโฟม (PUR) โดยพีไออาร์มีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 แต่ให้ค่าการเกิดควันต่ำกว่า 50 ในขณะที่โพลียูรีเทนโฟมมีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 และค่าการเกิดควันถึง 150-350-
โพลียูรีเทนโฟม (PUR) มีความยืดหยุ่นและเป็นผงน้อยกว่าแผ่นพีไออาร์ (PIR)
3. ค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นใกล้เคียงกัน เช่น แผ่นโพลียูรีเทนหรือแผ่นโพลีไอโซ 2 ปอนด์ จะมีค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นประมาณ 20 psi และมีค่าความเป็นฉนวนใกล้เคียงกันที่ 6.0 ต่อนิ้วโดยเฉลี่ย
ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวน กันความร้อน – ความเย็น และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวน | คุณสมบัติ | ข้อดี | ข้อเสีย |
1) วัสดุฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ | มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ | มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูง ทนความชื้นได้ดี ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย | ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง |
2) วัสดุฉนวนแบบโฟม | เช่น โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อน / เก็็บความเย็็นได้ดี | มีคุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ รองรับน้ําหนักกดทับได้ดี มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟไหม้ |
3) วัสดุฉนวนใยแก้ว | ทํามาจากแก้วหรือเศษแก้วนํามาหลอมและเป็นเป็นเส้นใยละเอียดนํามาอัดรวม กัน | คุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่เหมาะกับการใช้งานที่เปิดโล่งโดยไม่มีอะไรปกคลุม |
4) วัสดุฉนวนใยหิน (Mineral Wool) | เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ | มีคุณสมบัติในการกันความร้อนและดูดซับเสียงที่ดี ทนไฟ | ไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น |
5) เซลลูโลส (Cellulose) | เป็นวัสดุ Recycle ผสมเคมี เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด | มีค่าการกันความร้อนและเสียงที่ดี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม | ไม่ทนต่อน้ำและความชื้น มีโอกาสหลุดล่อนได้ |
6) แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) | เป็นผงอัดเป็นแผ่นสําเร็จ | สามารถตัดต่อเหมือนแผ่นยิบซั่ม แต่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน ทาสีทับได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก ไม่ทนต่อความชื้น |
7) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) | ทําจากแร่ไมก้า มีลักษณะเป็นเกร็ด คล้ายกระจก เป็นผงนําไปผสมกันซีเมนต์ หรือทรายจะได้คอนกรีตที่มีค่าการนําความร้อนต่ำ | สามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก |
8) เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating) | เป็นสีเเซรามิคลักษณะของเหลวใช้ทาหรือพ่น ช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี | ติดตั้งง่าย มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนที่ผิวอาคารโดยตรง | อายุการใช้งานต่ำ เนื่องจากสภาวะอากาศ การติดตั้งอาศัยเทคนิคความชํานาญสูง |
ฉนวนกันความร้อนได้อย่างไร (How insulation does it work?)
ฉนวนกันความร้อนได้อย่างไร (How insulation does it work?)
ตารางเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนของวัสดุชนิดต่างๆ
วัสดุ |
ค่า K (วัตต์/เมตร oC) |
โฟมโพลียูรีเทน |
0.023 |
โฟมแผ่น (โพลีสไตลิน) |
0.031 |
ฉนวนใยแก้ว |
0.035 |
ไม้อัด |
0.123 |
แผ่นยิปซัม |
0.191 |
กระเบื้องแผ่นเรียบ |
0.28 |
ที่มา : คู่มือวิชาการของสถาบันวิศวกรรมความร้อน ความเย็น และระบบปรับอากาศ แห่งสหรัฐอเมริกา (ASHRAE Handbook)
แผ่นฉนวนกันความร้อนไอซูเรทชีท
แผ่นฉนวนกันความร้อน ผลิตจาก PIR (Polyisocyanurate) ซึ่งมีคุณสมบัติความเป็นฉนวนกันความร้อนสูง อีกทั้งมีความปลอดภัยในเรื่องการติดไฟ ได้รับการยอมรับเป็น B2 Class (DIN4102)
มีการเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นฉนวนด้วยการสะท้อนความร้อนจาก Aluminium Foil น้ำหนักเบา สามารถใช้งานยึดติดกับโครงผนัง หรือยึดติดกับผนังเดิมได้ หรือวางบนฝ้าเพดานเดิม เพื่อใช้เป็นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
คุณสมบัติแผ่นฉนวนกันความร้อนไอซูเรทชีท
- เป็นฉนวนความร้อน, ความเย็นอย่างดี
- ค่าต้านทานความร้อน (R) = 6.0ft2 °F/Btu
- ค่าการนำความร้อน (k) = 0.023 W/mK
- ช่วงอุณหภูมิในการใช้งาน -50°C ถึง 100°C
- มีคุณสมบัติกันลามไฟ
- DIN4102 B1, B2
- ASTM E-84 < 25
- น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
ตัวอย่างการใช้งาน
Product list
Product | วัสดุ | ความหนา(นิ้ว) | ความหนาแน่น (kg/m3) | ขนาด (ตร.ม.) | การใช้งาน |
ISURATE AFA25-2 | PIR | 25 | 35 | 1.20 X 2.40 | ฝ้า : วางบนฝ้าเดิม หรือยึดกับโครงฝ้าแล้วปิดด้วยแผ่นฝ้า ผนัง : ใส่ระหว่างผนัง 2 ชั้นหรือใช้เป็นฉนวนของผนังเบา |
ISURATE AFA50-2 | PIR | 50 | 35 | 1.20 X 2.40 | ฝ้า : วางบนฝ้าเดิม หรือยึดกับโครงฝ้าแล้วปิดด้วยแผ่นฝ้า ผนัง : ใส่ระหว่างผนัง 2 ชั้นหรือใช้เป็นฉนวนของผนังเบา |
**We can provide the product as per customer requirement.
ฉนวนกันความร้อนไอซูเรทโฟม
แผ่นฉนวนกันความร้อนโฟม PIR แบรนด์ไอซูเรท (ISURATE® Foam) ผลิตจากโฟม PU และโฟม PIR (โฟมโพลียูรีเทน และโฟมโพลีไอโซไซยานูเรท) แผ่นฉนวนกันร้อนไอซูเรทมีคุณสมบัติกันความร้อนดีเยี่ยม อีกทั้งไม่ลามไฟ และมีน้ำหนักเบา สามารถตัดขนาดตามต้องการได้ เหมาะใช้เป็นฉนวนกันความร้อนในบ้านพักอาศัย ฉนวนกันร้อนในอาคาร ฉนวนกันร้อนในออฟฟิตสำนักงาน โดยติดตั้งฉนวนที่ฝ้าเพดาน, ฉนวนกันร้อนที่ผนังเป็นต้น
คุณสมบัติของแผ่นฉนวน ISURATE® Foam
- ผลิตจากโพลีไอโซไซยานูเรทโฟม (PIR Foam) และโฟมพียู (PU Foam)
- มีค่าฉนวนกันความร้อนสูง / ค่าฉนวนกันความเย็นสูง
- ค่าต้านความร้อน (R) = 6.0 ft2 °F/Btu
- ค่าการนำความร้อน (k) = 0.023 W/m.K
- ช่วงอุณหภูมิในการใช้งาน -20°C ถึง 100°C
- คุณสมบัติไม่ลามไฟ
- PIR Class B1, B2 ตามมาตรฐาน DIN4102
- ASTM E-84 < 25
- น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
- สามารถใช้ได้ทั้งงานฝ้าเพดาน และงานผนัง
การนำไปใช้งานและติดตั้ง
- วางบนฝ้าเพดาน เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนจากหลังคา
- ยึดเข้ากับโครงผนัง แล้วปิดทับด้วยวัสดุผนังเบา เป็นฉนวนกันความร้อนจากผนังอาคาร
- วางในช่องวางผนัง 2 ชั้น เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนจากผนังอาคาร
ตัวอย่างการติดตั้งฉนวนโฟมกันร้อน
Product List
รหัส | วัสดุ | ความหนา (mm.) | ความหนาแน่น (Kg/m3) | ขนาดแผ่น (ม.x ม.) |
ISURATE F25-2 | PIR | 25 (1″) | 35 | 1.20 X 2.40 |
ISURATE F50-2 | PIR | 50 (2″) | 35 | 1.20 X 2.40 |
ผนังฉนวนกันร้อน-ฝ้ากันร้อนไอซูเรทบอร์ด
ISURATE® Board นวัตกรรมฉนวนกันความร้อน ออกแบบให้ติดตั้งง่าย เสร็จในขั้นตอนเดียว เป็นการผสาน 2 คุณสมบัติพิเศษ ลดการส่งผ่านความร้อนของแผ่นยิปซัม หรือกระเบื้องแผ่นเรียบ ร่วมกับฉนวนโฟม PIR (Polyisocyanurate) จึงให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าแผ่นยิปซัมธรรมดา ช่วยลดปริมาณความร้อนภายนอก และเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม
คุณสมบัติพิเศษ
- ป้องกันความร้อนได้ดี เนื่องจากมีค่าการนำความร้อนต่ำ (k = 0.023 W/m.K)
- ฉนวนโฟม PIR ไม่ลามไฟ (Class B1 และ ฺB2 -DIN4102)
- ช่วยประหยัดค่าไฟ
- การใช้งานยาวนาน 10 ปีขึ้นไป
- ติดตั้งง่ายทั้งบ้านสร้างใหม่และบ้านซ่อมแซม เพียงใช้สกรูยึด หรือกาวอีพอกซี่
- สามารถติดตั้งเป็นฝ้าเพดาน หรือผนังได้
- มีสมบัติป้องกันเสียงในตัว
คุณสมบัติ
- ขนาดแผ่น 1.20 x 2.40 ตร.ม.
- ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน -40 °C ถึง 90 °C
- คุณสมบัติกันไฟลาม
- DIN 4102 Class B1, B2
- ASTM E-84 < 25
- สามารถติดตั้งเป็นผนังกันร้อน หรือฝ้ากันร้อนได้
- วิธีการติดตั้ง กรณีติดตั้งเป็นฝ้ากันร้อน click
- วิธีการติดตั้ง กรณีติดตั้งเป็นผนังกันร้อน click
การติดตั้งฝ้ากันความร้อน ไอซูเรทบอร์ด
ทดสอบฝ้ากันความร้อน ไอซูเรทบอร์ด
กาวพียู 2 พาร์ท
ผลิตและจำหน่ายกาวโพลียูรีเทน แบบ 2 ส่วนผสมกัน มีหลายสูตรตามระยะเวลาการแห้งของกาว เป็นกาวที่ให้คุณสมบัติติดแน่น ใช้ติดกับผิววัสดุหลากหลาย เช่น โฟมขาวโพลีสไตรีน, โฟมโพลียูรีเทน, อลูมิเนียม, เหล็กและโลหะชนิดอื่นๆ, แผ่นหิน กระเบื้อง ฯลฯ
Application :
เหมาะใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, ห้องเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังเหมาะใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และใช้ในครัวเรือน เพื่อซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ชำรุดแตกหักious metal, rock sheets, etc.