การติดตั้งฉนวนกันร้อนโฟม PIR
วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน รุ่นไอซูเรทโฟม (โฟม PIR)
การติดตั้งฝ้าฉนวนกันความร้อน Isurate Board
วิธีติดตั้งฉนวนกันความร้อนไอซูเรทบอร์ด-ฝ้าฉนวนกันความร้อน (Isurate Board)
1)วัดขนาดฝ้าฉนวนกันความร้อนไอซูเรทบอร์ดตามต้องการด้วยไม้บรรทัด
2) ตัดขนาดฝ้ากันความร้อนไอซูเรทบอร์ดที่วัดไว้ ด้วยเลื่อยหรือคัตเตอร์
3) นำแผ่นฝ้าฉนวนกันร้อนไอซูเรทขึ้นติดตั้งในบริเวณที่ติดตั้งโครงฝ้าเพดานไว้เรียบร้อยแล้ว
4) ทำการยึดแผ่นฝ้าฉนวนกันร้อนไอซูเรทกับโครงฝ้า ด้วยสกรู (ใช้สกรูยาว 2″ ขึ้นไป)
5) หลังจากติดตั้งแผ่นฝ้าเต็มพื้นที่ ให้ปิดรอยต่อระหว่างแผ่นฝ้าด้วยเทป และโป้วปิดรอยหัวสกรูด้วยปูนโป้ว
6) รอจนปูนโป้วแห้ว แล้วขัดรอยปูนโป้วให้เรียบ จึงทาสีฝ้าฉนวนกันร้อนไอซูเรทบอร์ดตามต้องการ
ต้นเหตุทำบ้านร้อน และไม่ประหยัดพลังงาน พร้อมวิธีแก้ไข
1. หลังคา ส่วนบนสุดของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น หลังคา ดาดฟ้า ฝ้าเพดาน
โดนแดดรับความร้อนเข้ามาเต็มๆ แต่ระบายออกไม่ได้, ไม่ดี หรือเคยดีแต่เสื่อมแล้ว
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้ คือติดฉนวนป้องกันความร้อน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ
(1) ป้องกันความร้อนผ่านเข้ามา วัสดุจะมีรูโพรงอากาศอยู่ภายใน จะเป็นเส้นใย หรือโฟมก็ได้ หุ้มฟลอยมาด้วยก็ยิ่งดี
(2) สะท้อนความร้อนออกไป ถ้าว่ากันตามหลักวิชาการ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นฉนวนกันความร้อน เนื่องจากเป็นแค่การสะท้อนความร้อนออกไปด้วยความมันวาวของพื้นผิว ซึ่งหากพื้นผิวหมองลง หรือสิ้นความมันวาว คุณสมบัตินี้ก็จะหายไป
2. ลูกหมุนระบายอากาศ
เปล่าประโยชน์ที่จะติด โดยเฉพาะบ้านชั้นเดียว เนื่องจากหลักการทำงานของลูกหมุนระบายอากาศ จะเป็นตัวทำให้อากาศร้อนลอยขึ้นสูงออกไปคงเหลือไว้แต่อากาศเย็นที่หนักกว่าอยู่ด้านล่าง จึงเหมาะกับโรงงานที่มีปริมาณของอากาศใต้หลังคามาก
บ้านชั้นเดียวมันร้อนไปหมด หรือถ้าติดฝ้าไว้ ปริมาณอากาศใต้หลังคาก็น้อยแล้วก็ร้อนไปหมด แทบไม่เหลืออากาศเย็นให้แล้ว
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
หากใครติดลูกหมุนไว้แล้วก็ติดไป เอาออกเดี๋ยวจะยุ่งไปกันใหญ่ ให้ติดฉนวนกันความร้อน และพยายามหาช่องระบายอากาศให้ได้มากๆ ตามสภาพจะอำนวย
กลายเป็นแหล่งกระจายความร้อนในตัวบ้านไปโดยปริยาย พอมืดก็ต้องเปิดไฟเพิ่มอีก ทำให้เปลืองไฟเพิ่มอีก 1 จุดวิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
(1) เพิ่มแสงธรรมชาติ หาทางเพิ่มช่องแสงเข้ามาในพื้นที่นี้ อาจจะเปลี่ยนหลังคาหรือฝ้าสักช่องหนึ่งเป็นแบบโปร่งแสง
(2) ระบายอากาศ หาทางให้อากาศถ่ายเทผ่าน พัดลมระบายอากาศ เป็นทางเลือกสุดท้าย
ที่ถูกต้องคือให้เว้นพื้นที่ว่างด้านหน้าไม่น้อยกว่า 3 เมตร,
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้ ถ้าบอกให้ทุบทิ้งคงไม่มีใครทำเป็นแน่ คงต้องหาทางระบายอากาศให้ได้ตามสภาพบ้านหลังนั้นๆ
— ข้อต่อไปนี้ จะเกี่ยวกับแอร์ ทั้งแอร์บ้าน และ แอร์คอนโด หรือที่พักอาศัยทุกแบบ —
5. หน้าต่างห้องแอร์เป็นบานเกล็ด
ทำให้ความเย็นรั่ว! อากาศมันรั่วเข้ามาจากบานเกล็ดตลอดเวลา แอร์ก็ทำงานหนัก
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้ เปลี่ยนชนิดของหน้าต่าง โดยใช้วงกบเดิมได้ อาจเปลี่ยเป็นบานเปิด บานเลื่อน หรือ บานอลูมิเนียม แล้วแต่ชอบ
6. ห้องแอร์ที่มีห้องน้ำในตัว
หลักการทำงานของแอร์คือ รีดความชื้นออกไปจากตัวห้อง ดังนั้นความชื้นจากห้องน้ำจะทำให้แอร์ต้องรีดความชื้นเพิ่มขึ้น
แอร์ทำงานหนักและไม่ประหยัดไฟ
แม้เราจะคิดว่า มีประตูหน้าต่างที่ปิดมิดชิดแล้วก็ตาม แต่แน่ใจรือ
เวลาเราเปิดเข้าห้องน้ำก็เป็นช่องเปิดบานเบ่อเร่อแระ
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
เปลี่ยนบานประตูและช่องระบายอากาศของห้องน้ำเป็นแบบปิดทึบ เลิกใช้บานเกล็ด ไม่ควรเอากระดาษ เอาผ้าไปปิด
เพราะกระดาษและผ้าก็จะชื้น นานเข้าก็จะเกิดรา แถมแก้ปัญหาไม่ได้เลย
7. คอมเพรสเซอร์ วางตำแหน่งไม่ดี
วางติดผนังกำแพงเกินไป วางตากแดด วางที่ระเบียงที่ลมร้อนเป่าออกไปไม่ได้ วนร้อนอยู่แต่ในระเบียง ทำให้ค่าไฟแพง แต่แอร์ไม่เย็น
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
(1) อย่าให้แอร์คอมเพรสเซอร์โดนแดดดีที่สุด หาอะไรมาบังแดดให้
(2) วางคอมเพรสเซอร์ในตำแหน่งที่มีการระบายอากาศได้ดี ถ่ายเทสะดวก
ถ้าจะเอาตัวเลขระยะห่างก็จะประมาณ ด้านหน้าห่าง 1 เมตร ขึ้นไป ด้านหลังห่าง 50 เซนติเมตรขึ้นไป
หรือตามคำแนะนำในคู่มือติดตั้ง
(3) ระยะคอมเพรสเซอร์ถึงตัวเปล่าลมแอร์ ไม่ควรเกิน 12 เมตร จะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง
8. มีสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์บังลมแอร์
ไม่ว่าจะเป็นแอร์ติดผนัง ติดเพดานหรือวางกับพื้น สิ่งที่สำคัญคือ อย่าให้มีอะไรไปขวางทิศทางลมแอร์
โดยเฉพาะแอร์ที่ติดตั้งในตำแหน่งสูง ผนังใกล้เพดาน โดยธรรมชาติของแอร์จากตำแหน่งสูงก็ทำให้ห้องเย็นยากอยู่แล้ว
พอมาเจอตัวขวางทางลมเข้าไปอีก บางทีกว่าจะเย็นก็กินเวลานาน กินไฟมาก
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
จัดเฟอร์นิเจอร์ใหม่ หรือทำให้ห้องโล่งๆ ช่วยเพิมประสิทธิภาพการทำความเย็นดีขึ้น
— 2 ข้อสุดท้าย จะเป็นพฤติกรรมการใช้แอร์ —
9. ปิดแอร์ปุ๊ป เปิดห้องทันที
เพราะคิดว่าประหยัดไฟ เข้าใจผิดแล้ว ถ้าเราปิดแอร์แล้วยังปิดห้องอยู่ มวลอากาศเย็นก็ยังอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนอยู่
ถ้าเปิดห้อง ไม่เพียงแต่ความเย็นจะหายไปแต่ยังพาเอาความชื้นเข้ามาด้วย แล้วเมื่อเปิดแอร์ใหม่ก็ต้องเริ่มต้นไล่ความชื้นกันใหม่อีก
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
ปิดแอร์แต่อย่าเพิ่งเปิดประตูหน้าต่าง
10. นอนห่มผ้านวมยันสว่าง
การนอนคลุมโปงในผ้านวม เป็นพฤติกรรมการนอนที่ไม่ประหยัดไฟ
ในประเทศที่เป็นอากาศร้อนชื้นอย่างไทย ถ้าในอากาศปกติตอนกลางคืน ใครลองห่มผ้านวมแล้วจะรู้สึกร้อน
เหงื่อออก ก็จะเหนียวเหนอะหนะ ไม่สบายตัว
วิธีแก้บ้านร้อนในกรณีนี้
(1) ตั้งเวลาปิดแอร์ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีอากาศหายใจ มีอากาศใหม่ซึมเข้าไปหมุนเวียนอย่างพอเพียง
(2) เปิดพัดลม(ส่าย) เปิดพัดลมร่วมกับเปิดแอร์ด้วย จะทำให้เย็นเร็วขึ้น หลังจากแอร์ปิดไปอัตโนมัติ ก็ยังได้กระแสลมพัดโบกตลอดคืน
ฉนวนกันความร้อนไอซูเรทในงานสถาปนิก’59
บริษัทฯ ได้นำสินค้าแผ่นฉนวนกันความร้อนโฟม PIR, ฝ้ากันความร้อน , ผนังกันความร้อน และเครื่องพ่นโฟม PU ออกงานสถาปนิก’59 เมื่อวันที่ 26 เม.ย.-1 พ.ค. 59 Challenger Hall 1-3 Impact MaungThongThani ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานจำนวนมาก
ฉนวน PU Foam และ PIR Foam คืออะไร (What’s PUR and PIR?)
พียูโฟม (PU Foam)
- เฟล็กซิเบิลโฟม (Flexible Foam) ผลิตจากโพลิออกซิโพรพิลีนไดออล ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เบาะรองนั่งทั่วไป เก้าอี้นวม ที่นอน แผ่นรองใต้พรม ตัวดูดซับน้ำมันรั่วไหลในทะเล
- ริจิดโฟม (Rigid Foam) ผลิตจากโพลิอีเทอร์ที่ได้จาก ซอร์บิทอลเมทิลกลูโคไซด์ หรือซูโครส ทำให้มีดีกรีของการครอสลิงสูง จึงมีความแข็งแรงสูงกว่าเฟล็กซิเบิลโฟม มีความต้านทานต่อแรงกดดันสูง จึงใช้ทำโครงสร้างของส่วนที่ต้องการน้ำหนักเบา เช่น ลำตัวเครื่องบิน และเรือ เป็นต้น สมบัติในการนำความร้อนต่ำมาก จึงมักใช้เป็นฉนวนสำหรับอาคาร รถขนส่งผลิตภัณฑ์แช่เย็น ชิ้นส่วนของรถยนต์ ตู้เย็น และกระติกน้ำแข็ง นอกจากนี้ยังใช้ทำส่วนประกอบของเรือเพื่อการลอยตัวดีขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและลอยตัวดี
ในวงการฉนวนกันความจึงมีการใช้ PU Foam ประเภท Rigid Foam อย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้ประหยัดพลังงาน เช่น อาคารสถาปนิกที่ได้รับรางวัล 1 ใน 5 อาคารประหยังพลังงานดีเด่น ปี 2552 นั้นก็มีการใช้ฉนวน PU Foam รวมกับการใช้วิธีการอื่น ด้านหลังคาคอนกรีตใช้ฉนวน PU Foam พ่นบนพื้นหลังคา สำหรับหลังคาเหล็ก ใช้ PU Foam ประเภทกันไฟลามเพื่อลดการเกิดเสียง ประตูหน้าต่าง ใช้ระบบประตูหน้าต่าง ALUMINIUM ชนิดป้องกันความร้อน และกรอบบานประตู ALUMINIUM ฉีด PU Foam ประกอบกับกระจกที่ใช้เป็นกระจกฉนวนป้องกันความร้อนและป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลตภายนอกอาคารให้มีต้นไม้ เพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากแสงแดด
คุณสมบัติของฉนวนพียูโฟม
1.ป้องกันความร้อน-เย็นได้ดี เนื่องจากมีค่าการนำความร้อน (k) ที่ต่ำกว่าวัสดุอื่น เมื่อเทียบกับความหนาแน่นที่เท่ากัน (PU Foam = 0.023 W/m.K)
2. ไม่ลามไฟ (Fire Resistant) มีการใส่สารกันลามไฟ ให้ดับไฟได้เอง ตามมาตรฐานวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในอาคาร
3. ป้องกันน้ำรั่วซึมได้ เนื่องจากเป็นเซลล์ปิด ไม่อุ้มน้ำ
4. ลดเสียงดัง กั้นเสียง (Noise Inhibiting) เพราะมีโครงภายในเซลล์เป็นช่องอากาศเป็นโพรง (Air Gap) เป็นจำนวนมาก ช่วยลดการพาของเสียง
5. ไม่เป็นพิษ (Non-toxic Irritant) เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่างหรือตัวทำละลายอย่างอื่นจะมาเปลี่ยนสภาวะจากของแข็งเป็นของ เหลวได้ จึงไม่มีสาระคายเคืองหรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้เหมือนใยแก้ว
6. ป้องกันมด, นก, หนู, แมลง (Vermin Resistant) ส่วนผสมของเคมีป้องกันไม่ให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปทำรัง หรือทำลายฉนวน
7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light Weight & Strrength) โฟมขนาด 1 ม.x 1 ม. x 1 นิ้ว (กxยxหนา) มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม และยังรับน้ำหนักแรงกดได้ดี
8. ทนต่อกรด/ด่าง โฟม PU ไม่ละลายในกรด/ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่อง จึงสามารถป้องกันการเสียหายจากสารที่กล่าวข้างต้น
9. ความคงตัว โฟมพียูไม่มีการยุบตัว เพราะมีความหนาแน่นถึง 35-50 กก./ลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ จึงทนทาน มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีโดยไม่ต้องบำรุงรักษาแต่อย่างใด (ภายใต้การติดตั้งที่ถูกต้อง)
10. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation Control) โฟม PU จะเป็นตัวกั้นกลางแยกความร้อนและความเย็นอยู่คนละข้าง จึงทำให้ไม่เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ
ฉนวน PIR (พีไออาร์)
คุณสมบัติพิเศษของฉนวนกันความร้อน PIR (พีไออาร์)
1. ปฏิกิริยาการเกิด PIR เกิดที่อุณหภูมิสูงกว่าปฏิกิริยาของ PUR จึงมีโครงสร้างโมเลกุลที่แข็งแรง ทำให้ PIR มีความแข็งแรงกว่าโพลียูรีเทน (จากรายงานพบว่าต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า 200 oC จึงจะสามารถทำลายพันธะเคมีของ PIR ได้ ในขณะที่ PUR ใช้เพียง 100-110 oC)
2. พีไออาร์ (PIR) เหมาะใช้กับที่พักอาศัย เพราะมีค่าการเกิดควันน้อยกว่าโพลียูรีเทนโฟม (PUR) โดยพีไออาร์มีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 แต่ให้ค่าการเกิดควันต่ำกว่า 50 ในขณะที่โพลียูรีเทนโฟมมีค่ากันลามไฟต่ำกว่า 25 และค่าการเกิดควันถึง 150-350-
โพลียูรีเทนโฟม (PUR) มีความยืดหยุ่นและเป็นผงน้อยกว่าแผ่นพีไออาร์ (PIR)
3. ค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นใกล้เคียงกัน เช่น แผ่นโพลียูรีเทนหรือแผ่นโพลีไอโซ 2 ปอนด์ จะมีค่าการทนแรงกดต่อความหนาแน่นประมาณ 20 psi และมีค่าความเป็นฉนวนใกล้เคียงกันที่ 6.0 ต่อนิ้วโดยเฉลี่ย
ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวนกันความร้อน และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวน กันความร้อน – ความเย็น และคุณสมบัติ
ประเภทฉนวน | คุณสมบัติ | ข้อดี | ข้อเสีย |
1) วัสดุฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ | มีค่าการแผ่รังสีความร้อน (Emissivity) ของผิวอลูมิเนียมต่ำ | มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนสูง ทนความชื้นได้ดี ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย | ขาดคุณสมบัติในการป้องกันเสียง |
2) วัสดุฉนวนแบบโฟม | เช่น โพลียูรีเทนโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อน / เก็็บความเย็็นได้ดี | มีคุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ รองรับน้ําหนักกดทับได้ดี มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟไหม้ |
3) วัสดุฉนวนใยแก้ว | ทํามาจากแก้วหรือเศษแก้วนํามาหลอมและเป็นเป็นเส้นใยละเอียดนํามาอัดรวม กัน | คุณสมบัติในการนําความร้อนต่ำ มีคุณสมบัติด้านเสียงที่ดี | เส้นใยก่อให้เกิดการระคายเคือง ไม่เหมาะกับการใช้งานที่เปิดโล่งโดยไม่มีอะไรปกคลุม |
4) วัสดุฉนวนใยหิน (Mineral Wool) | เป็นเส้นใยจากธรรมชาติ มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ | มีคุณสมบัติในการกันความร้อนและดูดซับเสียงที่ดี ทนไฟ | ไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น |
5) เซลลูโลส (Cellulose) | เป็นวัสดุ Recycle ผสมเคมี เพื่อช่วยให้เกิดการยึดติด | มีค่าการกันความร้อนและเสียงที่ดี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม | ไม่ทนต่อน้ำและความชื้น มีโอกาสหลุดล่อนได้ |
6) แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate) | เป็นผงอัดเป็นแผ่นสําเร็จ | สามารถตัดต่อเหมือนแผ่นยิบซั่ม แต่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อน ทาสีทับได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก ไม่ทนต่อความชื้น |
7) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) | ทําจากแร่ไมก้า มีลักษณะเป็นเกร็ด คล้ายกระจก เป็นผงนําไปผสมกันซีเมนต์ หรือทรายจะได้คอนกรีตที่มีค่าการนําความร้อนต่ำ | สามารถหล่อเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ทนไฟ | มีน้ำหนักมาก |
8) เซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating) | เป็นสีเเซรามิคลักษณะของเหลวใช้ทาหรือพ่น ช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี | ติดตั้งง่าย มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อนที่ผิวอาคารโดยตรง | อายุการใช้งานต่ำ เนื่องจากสภาวะอากาศ การติดตั้งอาศัยเทคนิคความชํานาญสูง |
ฉนวนกันความร้อนได้อย่างไร (How insulation does it work?)
ฉนวนกันความร้อนได้อย่างไร (How insulation does it work?)
ตารางเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนของวัสดุชนิดต่างๆ
วัสดุ |
ค่า K (วัตต์/เมตร oC) |
โฟมโพลียูรีเทน |
0.023 |
โฟมแผ่น (โพลีสไตลิน) |
0.031 |
ฉนวนใยแก้ว |
0.035 |
ไม้อัด |
0.123 |
แผ่นยิปซัม |
0.191 |
กระเบื้องแผ่นเรียบ |
0.28 |
ที่มา : คู่มือวิชาการของสถาบันวิศวกรรมความร้อน ความเย็น และระบบปรับอากาศ แห่งสหรัฐอเมริกา (ASHRAE Handbook)